โรคกระดูกพรุน

ผ่านวัยทอง เสี่ยงโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน Osteoporosis 🔥🔥🔥

❥เซลล์กระดูกสร้างใหม่ตลอดๆ และกำจัดเซลล์เก่าๆ เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ในร่างกายถ้ามีการสลายกระดูกมากกว่าการผลิตกระดูก นานๆเข้าก็เป็นโรคกระดูกพรุนแน่นอน

เพศหญิง สูงอายุ ผ่านวัยทองมาแล้ว เตี้ยลง กระดูกหักบ่อย ไม่ชอบดื่มนม วัยสาวๆ ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่

❥โรคกระดูกพรุน คือ กระดูกเป็นรูๆ บางลง อ่อนลง ชั้นกระดูกอ่อนแอลง ในช่วงเวลานานไปเลือยๆ ก็จะอ่อนลง จนพรุ ล้มเบาๆ ก็ร้าว แค่โน้มตัว หรือก้ม แม้แต่จาม ก็หักได้เหมือนกัน

คนไม่ค่อยสนใจ จะไม่เห็นอาการใดๆ จนกระทั่งกระดูกหัก ค่อยตรวจเจอโดยบังเอิญ

อาการคือ ปวดหลัง กระดูกสันหลังร้าว กระดูกยุบตัวลง เตี้ยลงด้วย หลังค่อมลง กระดูกหักบ่อยๆ

เห็นมากสุดที่สันหลัง ข้อมือ สะโพก

❥กระดูกเป็นสิ่งสำคัญ รวมๆกันเป็นโครงสร้าง ออกมาเป็นรูปร่าง จัดอวัยะให้ถูกที่ เส้นประสาทอยู่ถูกที่ ป้องกันปอด หัวใจ สมอง ไขสันหลัง ส่งผลให้ท่าทางการเดิน การนั่งสวยงาม

วันนี้ ทานแคลเซี่ยม+วิตามิน D ทุกวันด้วยนะคะ 

วิตามิน D ช่วยร่างกายซึมซัมในร่างกายได้
ถ้าทานแคลเซี่ยมเยอะ แต่ไม่มีวิตามิน D ก็เสียเปล่านะจ๊ะ

หัวใจปั๊มๆ ยังต้องใช้แคลเซี่ยม ถ้าไม่มี ร่างกายจะสลายกระดูก และเอามาใช้ บ่อยๆกระดูกก็พรุ่นนะ

❥ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

1. ฮอโมนผู้หญิงตกมาเรื่อยๆ จะไม่มีตัวมากำจัดเซลล์สลายกระดูก ก็จะมีการสลายกระดูกยาวนาน กระดูกพรุน จึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
 
2. อยู่เฉยๆ ไม่ออกกำลังกาย ไม่กระตุ้นมัน กระดูกก็อ่อนแอ่ไปด้วย แก่ลงเป็นโรคกระดูกพรุน
 
3. ผู้หญิงโครงสร้างเล็ก พ่อ แม่ หรือ รุ่นยาย เคยเป็นโรคกระดูดพรุน
 
4. ยาสเตอรอย ก่อกวนการซึมซัมแคลเซี่ยม
 
5. ผู้หญิงเคยผ่าตัดเอารังไข่ออกจากร่างกาย เสี่ยงมากกว่าปกติ รังไข่ผลิตฮอโมนผู้หญิง ก็ไม่มีอะไรมาหยุดเซลล์สลายกระดูก
 
6. อะไรต่างๆที่มาก่อก่อนการซึมซัมแคลเซี่ยม เช่น การผ่าตัด แพ้นม การอักเสบในลำไส้
 
7. อะไรต่างๆที่ทำให้ต่อมพาราตอย ปล่อยฮอโมนมากเกินไป จะสลายกระดูกมากเกินไป
 
8. การอักเสบเรื้อรัง มักให้เสตอรอย แต่ทานนานๆจะก่อกวนการซึมซัมแคลเซี่ยม พอแคลเซี่ยมต่ำ ก็จะไปสลายกระดูกมาใช้
 
9. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
 
❥สรุปอาหารการกิน วัยทอง อายุ คือเสี่ยงมากที่สุด
เพราะงั้น ทานแคลเซี่ยม+วิตมินดี เยอะๆ เพราะมีแคลเซี่ยมในเลือด ภาวะการสลายกระดูกจะหยุดได้