ตายจากการอดนอน นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อเนื่องมีความเสี่ยง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อดหลับ

สถิติการอดนอนยาวนานที่สุดที่เคยถูกบันทึกไว้คือ 11 วัน เจ้าของสถิติคือ Randy Gardner นักเรียนมัธยมปลาย วัย 17 ปี เขาตื่นอยู่ตลอดเวลาติดต่อกัน 264 ชั่วโมง

การไม่ได้นอน 11 วันมีผลอย่างไรบ้างน่ะเหรอ?

อันที่จริงร่างกายของ Gardner เริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติตั้งแต่วันที่ 2 แล้วครับ ดวงตาทั้งสองข้างของเขาไม่สามารถมองจดจ่ออยู่กับอะไรได้เลย พูดง่าย ๆ ตาโฟกัสวัตถุไม่ได้ จากนั้นความสามารถในการแยกแยะสิ่งของด้วยการสัมผัสของเขาก็ล้มเหลว เขาไม่สามารถตอบได้ว่ามือของตัวเองกำลังจับวัตถุอะไรอยู่หากปราศจากการมอง วันที่ 3 Gardner อารมณ์ฉุนเฉียวและเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สัมพันธ์กัน

เมื่อการทดลองสิ้นสุด เขาต้องพยายามอย่างมากที่จะรวบรวมสมาธิและจิตใจของตัวเองให้กลับมาเป็นปกติ และยังต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรงในเรื่องความจำระยะสั้น กลายเป็นคนที่มีอาการจิตเภทหวาดระแวง และเริ่มมีอาการทางประสาทมองเห็นภาพหลอน ใช้เวลานานมากกว่าจะฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเป็นคนเดิม

แม้ว่า Gardner จะหายจากอาการเหล่านั้นโดยไม่มีผลกับสุขภาพจิตในระยะยาว แต่ข้อเท็จจริงสำหรับมนุษย์ทุกคนคือการอดนอนต่อเนื่องนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน การเจ็บป่วย และในกรณีร้ายแรงที่สุด คือ ตาย

สำหรับผู้ใหญ่ ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมคือ 7 – 8 ชั่วโมง ส่วนวัยรุ่นจะอยู่ที่ประมาณ 10 ชั่วโมง เมื่อร่างกายเริ่มส่งสัญญาณถึงอาการง่วง นั่นหมายความว่าสมองเรากำลังเหนื่อยล้า การง่วงนอนมาจากการหลั่งสารเคมีในสมอง เช่น อะดีโนซีน (Adenosine) และ เมลาโทนิน (Melatonin) เมื่อระดับสารเคมีเหล่านี้สูงขึ้นมันจะส่งผลให้ร่างกายเราเริ่มมีอาการหลับในนิด ๆ เราจะหายใจแผ่วลง หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง และกล้ามเนื้อก็จะเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเข้าสู่โหมด Sleep

ภาวะการณ์นอนแบบนี้เรียกว่า Non-REM Sleep การนอนในโหมดที่ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองในส่วนที่สึกหรอ รวมถึงซ่อมแซม DNA ด้วย ร่างกายเราจะเสริมสร้างพลังให้ตัวเองเพื่อพร้อมสำหรับการใช้งานในวันรุ่งขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการอดนอนหรือนอนหลับไม่เต็มที่จึงทำให้ร่างกายคุณผิดปกติเริ่มตั้งแต่อาการเล็ก ๆ อย่างหงุดหงิดฉุนเฉียว ไปจนถึงประสาทหลอน นั่นเพราะเซลล์ในร่างกายและสมองของคุณถูกทำลายจากการใช้งานอย่างต่อเนื่องโดยที่มันไม่มีโอกาสได้ซ่อมแซมตัวเองเลย

ปี 2014 ช่วงบอลโลก สื่อทั่วโลกตีข่าวการเสียชีวิตของแฟนบอลพันธุ์แท้รายหนึ่งที่อดนอนต่อเนื่องมากกว่า 48 ชั่วโมงเพื่อดูการแข่งขัน สาเหตุการเสียชีวิตของเขามาจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง

หรืออย่างข่าวดังของ Ranjan Das CEO ชาวอินเดียวัย 42 ปี ที่มีสุขภาพจิตดี เข้มงวดกับอาหารการกิน และการออกกำลังกาย แต่กลับต้องมาเสียชีวิตลงกะทันหันเพราะอดนอนต่อเนื่องมานานหลายปี เขาเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายสำนักว่าเขานอนน้อยมากเฉลี่ยคืนละ 4 – 5 ชั่วโมงเท่านั้น ตัวเขาเองรักสุขภาพอยากนอนให้ได้มากกว่านี้ แต่มีเรื่องต้องรับผิดชอบเยอะในฐานะผู้นำ เขาจึงเลือกที่จะโฟกัสกับอาหารและการออกกำลังกายแทน เพราะสามารถทำได้ในระหว่างวัน

ผลการวิจัยด้านการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ระบุว่าหากคุณนอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมงเป็นประจำโอกาสที่สมองคุณจะขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอมีมากถึง 4.5 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับคืนละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป

เรื่องของการนอนมีผลต่อความตายขนาดนั้นได้อย่างไร?

นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคำตอบนี้ขึ้นอยู่กับการสะสมของเสียในสมอง ช่วงที่เราตื่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ เซลล์ในร่างกายเราจะง่วนอยู่กับการใช้แหล่งพลังงานซึ่งพลังงานพวกนั้นจะถูกสลายไปเป็นสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายและสมอง หนึ่งในนั้นคือ อะดีโนซีน (Adenosine) สารเคมีที่พบในสมอง เมื่อมันถูกสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดแรงกดดันที่ทำให้เราหลับเร็วขึ้น (Sleep Pressure) สังเกตวันไหนทำอะไรมาหนัก ๆ เหนื่อย ๆ กลับบ้านไปสลบเป็นตาย

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณง่วงสุด ๆ แต่ยังคงอัด “คาเฟอีน” เข้าร่างเพื่อกระตุ้นให้ตัวเองตื่น คาเฟอีนมันจะไปสกัดกั้นการรับ อะดีโนซีน เจ้าสารเคมีที่ทำให้ง่วงนอน เราจะไม่ง่วง จุดนี้เองที่จะทำให้ของเสียในสมองถูกสะสมมากขึ้น เพราะระบบการกำจัดของเสียในสมองและระบบการซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายจะทำงานได้เต็มที่จริงๆ ก็ต่อเมื่อเราหลับ

หากมีพฤติกรรมง่วงแต่ไม่นอน ง่วงแต่อัดคาเฟอีนเกิดขึ้นกับคุณต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ร่างกายและสมองของคุณจะเปี่ยมไปด้วยของเสียที่สะสมจากการใช้ชีวิตในแต่ละวัน นำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติในร่างกายและสมองและตามมาด้วยโรคภัยต่าง ๆ และระบบการทำงานภายในที่ล้มเหลวจนทำให้เสียชีวิตได้

คร่าว ๆ สำหรับหนึ่งคืนที่คุณนอนไม่พอ ร่างกายคุณจะสะสมสารเคมีที่เป็นพิษหลายชนิด เช่น Interleukin-6 (IL-6), Tumour Necrosis Factor-Alpha (TNF-alpha) และ C-reactive protein (cRP) ชื่อสารแต่ละตัวปวดหัวมาก แต่เอาเป็นว่าพวกมันจะเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลายชนิดรวมไปถึงมะเร็ง โรคข้ออักเสบ และโรคหัวใจด้วย

อ้างอิง:
– http://bit.ly/2yHb39b
– http://bit.ly/2GN4LJz

เทคนิคลดน้ำหนัก เเบบได้ผลระยะยาว…

เทคนิคลดน้ำหนัก #เเบบได้ผลระยะยาว🔥🔥🔥

หากวันนี้ คุณไม่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก บาสขอแนะนำวิธีดีๆให้ลองไปปรับดูคร่า

 

◼️1.อันดับเเรกปรับพฤติกรรมการทาน

ไก่ ปลา ผัก ห้ามอดอาหาร ดื่มน้ำมากๆ

◼️2.ลงมือทำงานอาหารเอง

Super Food ไขมันดี คาร์บดี ไม่เค็ม

◼️3.ดื่มน้ำให้เพียงพออยู่เสมอ

ดื่มวันละ 2-3 ลิตร

◼️4.เรื่องการออกกำลังกายไม่ใช่สิ่งที่คุณควรละเลย

สัปดาห์ละ 150 นาที

◼️5.ผักเเละผลไม้สารอาหารที่คุณไม่ควรพลาด

ใยอาหารส่งผลให้ลดหุ่นได้เห็นผลมากขึ้น

◼️6.ของทอดของเค็มหรือของหวานทั้งหลายหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด

ลดหวาน มัน เค็ม สุขภาพดีแน่นอน

◼️7.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเเละไม่ควรนอนดึก

ระบบเผาพลาญทำงานช่วงหลับลึก ตอน ตี 1 เพราะงั้นเริ่มนอน ไม่เกินเที่ยงคืนนะคร่า