จิบน้ำแต่น้อย 

จิบแต่น้อย 

น้ำถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ เนื่องจากร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 2 ใน 3 ของทั้งหมด อีกทั้งร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำวันละประมาณ 2.5 ลิตรโดยการขับออกทางปัสสาวะ เหงื่อ และลมหายใจ ดังนั้นการดื่มน้ำที่เพียงพอจึงช่วยให้ร่างกายสามารถรักษาสมดุลของน้ำได้อย่างเหมาะสม และทำให้สามารถนำเอาน้ำไปใช้ในอวัยวะต่างๆ ได้ดี

ตั้งแต่เด็กจนโต เรามักจะได้รับการปลูกฝังมาเสมอว่าการดื่มน้ำมากๆ จะมีผลดีต่อร่างกาย

Screen Shot 2561-03-31 at 15.21.46

แต่คุณทราบหรือไม่คะว่าการดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไปวันละประมาณ 6-7 ลิตร จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำเกินหรือน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication)

โดยน้ำที่บริโภคเข้าไปจะไปเจือจางความเข้มข้นของแร่ธาตุโซเดียม ทำให้ร่างกายเกิดความไม่ปกติขึ้น รวมถึงเกิดโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการไฮโปแนทรีเมียหรืออาการสมองบวมจนอาจคร่าชีวิตของคุณได้

โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่มีหน้าที่รักษาสมดุลน้ำระหว่างเซลล์ เมื่อโซเดียมถูกเจือจางจะทำให้น้ำภายนอกเซลล์ซึมเข้าไปภายในเซลล์จนเซลล์บวมน้ำ หรือเกิดภาวะที่เรียกว่า ไฮโปแนทรีเมีย (Hyponatremia)

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไฮโปแนทรีเมียมักจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการชักกระตุก สมองบวม ปอดบวม และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

นอกจากนี้การดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น

การต้องเข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางดึก

ส่งผลกระทบให้การนอนหลับในช่วงกลางคืนไม่เต็มอิ่มได้

หากคุณต้องการอยากจะดื่มน้ำให้ถูกวิธีและดีต่อร่างกายจะต้องไม่ดื่มน้ำมากหรือน้อยจนเกินไป โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร

ส่วนวิธีการดื่มที่ถูกต้อง ที่จะทำให้ร่างกายนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุดและท้องไม่อืดบวมแนะนำว่า 📌 #ไม่ควรจะดื่มทีละมากๆ แต่ควรจิบบ่อย ๆ ทีละน้อยตลอดทั้งวัน จะทำให้ร่างกายได้มีเวลาดูดซึมน้ำอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

นอกจากนี้ยังพบว่า #การดื่มน้ำมีผลต่อการลดความอ้วนด้วย การดื่มน้ำก่อนอาหารประมาณครึ่งแก้วจะทำให้ความหิวลดน้อยลง เนื่องจากน้ำมีส่วนช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน จึงทำให้คุณทานอาหารได้น้อยลงนั่นเอง